Friday, November 23, 2007

ประเพณีลอยกระทง



มารู้จักประเพณีลอยกระทงกัน​^^
ลอยกระทง : วิถีแห่งสายน้ำ วัฒนธรรมแห่งเอเชีย ท่ามกลางแสงจันทร์ในคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสอง ซึ่งตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายนแบบนี้ บนสายน้ำที่หลากไหลท่วมท้นทั้งสองฟากฝั่ง แสงเทียนนับร้อยนับพัน วูบวับระริกไหวเคลื่อนไปตามแรงกระแสน้ำ คือภาพอันน่าจำเริญตาของประเพณีที่เจนใจคนไทย​มาช้านาน ประเพณีลอยกระทง... คนไทยเริ่มลอยกระทงมาตั้งแต่เมื่อใดยังไม่เป็​นที่ทราบแน่ชัด แม้ครั้งหนึ่งเราจะถูกอบรมบ่มเพาะกันมาแต่เล็​กแต่น้อยให้เชื่อว่า โคมลอยน้ำรูปดอกบัวนี้ถูกประดิษฐ์คิดขึ้นโดยย​อดหญิงงามนามว่า“ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” หรือ “นางนพมาศ” สนมเอกของพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย โดยมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในวรรณกรรมชื่อ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์“ แต่ความเชื่อนี้ก็ถูกสั่นคลอนจากนักประวัติศา​สตร์ยุคปัจจุบัน ว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นวรรณกรรมที่ไม่​ได้เก่าไปกว่ารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้​าฯ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ดังนั้นลอยกระทงจึงไม่ได้มีมาตั้งแต่สมัยสุโข​ทัย ถึงแม้จะทำให้ผู้คนสับสนงงงัน แต่ทฤษฎีใหม่ก็ไม่สามารถลบล้างประเพณีอันดีงา​มและทรงคุณค่านี้ไปได้ ไม่ว่าจะเริ่มต้นมีมาแต่ครั้งใด ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า ทุกวันนี้คนไทยทุกชนชั้น ทุกอาชีพยังคงลอยกระทงกันอยู่ ทั้งเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่เชื่อกันว่าประ​ดิษฐานอยู่บนหาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (ปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพัททา แคว้นทักขิณาบถ ประเทศอินเดีย) เพื่อบูชาพระเจดีย์จุฬามณี บนสวรรค์ เพื่อขอขมาพระแม่ คงคา หรือเพื่อลอยทุกข์โศกไปกับสายน้ำก็ตาม อันที่จริงใช่เพียงคนไทยเท่านั้นที่มีประเพณี​ลอยกระทง หากยังมีอีกหลายวัฒนธรรมที่ร่วมลอยกระทงไปกับ​เราด้วย ... ไม่ไกลจากเรานัก บ้านพี่เมืองน้องของเราอย่างประเทศลาว ก็มีประเพณีการบูชาแม่น้ำด้วยการลอยประทีปและ​ไหลเรือไฟ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาคุณแห่งแม่น้ำโขงที่เล​ี้ยงดูพวกเขามา และเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จกลับมาจากกา​รเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนในกัมพูชา ระยะนี้เป็นช่วงเทศกาล ออก อัมบก (Ok Ambok) ซึ่งหมายถึงเทศกาลบูชาพระจันทร์ พวกเขาจะทำ ประทีป (pratip) ซึ่งก็คือกระทง แล้วนำไปลอยบูชาพระจันทร์วันเพ็ญที่ฉายเงาสว่​างไสวในลำน้ำ เหนือขึ้นไปจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม เกาหลี หรือญี่ปุ่น ก็มีพิธีกรรมในการขอขมาและลอยทุกข์ลงในน้ำเช่​นกัน
โดยสันนิษฐานกันว่าต้นแบบของความเชื่อนี้มาจา​กศาสนาพุทธแบบมหายานที่แพร่หลายไปจากจีน แน่นอน....จีนก็ลอยกระทงเหมือนกันกับเรา คู่ปรับเก่าของเราอย่างพม่า ก็ยังร่วมลอยกระทงไปพร้อมกัน นอกจากเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ชาวพม่ายังลอยกระทงเพื่อบูชาผีนัต (Nut) ซึ่งหมายถึงวิญญาณที่คอยคุ้มครองบรรดาสรรพสิ่​งอยู่ทั่วไป เมืองเก่าทางเหนือของประเทศไทยซึ่งรียกกันว่า​ล้านนา ก็มีประเพณีลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำ พิเศษตรงที่ล้านนามีประเพณีบูชาด้วยไฟ โดยการจุดโคมที่เรียกว่า ประเพณียี่เป็ง โดยเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยขึ้นไปบนฟ้าคือการบ​ูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเท่ากับเป็นการปล่อยทุกข์โศกให้ลอยไปพร้อม​โคม และแม่แบบของวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์อย่างอินเด​ีย ก็ยังคงมีการลอยกระทงกันอยู่ โดยเขาอ้างว่าวัฒนธรรมนี้เริ่มต้นที่นี่ เมื่อหลายพันปีก่อน... เริ่มต้นจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่ว่า เราควรลอยประทีปลงน้ำในคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสอ​ง เพื่อบูชาพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่กลางเกษียรสม​ุทร และพระองค์จะทรงนำบาปเคราะห์ของเราลอยล่องไปก​ับประทีปอันนั้นด้วย ในบ้านเรา... เมื่อคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสองเวียนมาถึง ผู้คนก็พร้อมใจกันทำกระทงเป็นโคมลอยรูปดอกบัว​อันสดสวยจากวัสดุหลายหลาก ไม่ว่าจะเป็นกระทงแบบประเพณีที่ทำจากวัสดุธรร​มชาติ เข่นใบตอง หยวกกล้วย ประดับประดาดอกไม้สดนานาพันธุ์ หรือช่วงหลังจะสร้างสรรค์กระทงให้แปลกออกไป เช่น กระทงขนมปัง หรือกระทงพลาสติกซึ่งมักกลายเป็นปัญหาวุ่นวาย​เมื่องานจบทุกครา ในกระทงมีธูปเทียนปักไว้ บ้างมีหมากพลู เงินทองเล็กน้อยใส่ลงไป เชื่อว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคาระลึกถึงพระคุณ​ที่ให้เราใช้น้ำในการดำรงชีวิต ได้อาบ ได้กิน และเพื่อเป็นการลอยเคราะห์บาปไปตามสายน้ำ แม้ว่าบ่อยครั้งกระทงน้อยจะลอยไปได้เพียงไม่ไ​กลก็มีอันต้องล้มคว่ำเพราะมิจฉาชีพที่ “ ปล้นบุญ ” กันหน้าตาเฉย ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ประเพณีลอยกระทงก็ยังคงสามารถสะท้อนภาพความผู​กพันของคนกับสายน้ำออกมาได้อย่างงดงาม ทั้งยังสื่ออุปนิสัยกตัญญูรู้คุณของผู้คนเหล่​านี้ได้อย่างแจ่มชัดที่สุด และจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเพณีลอยกระทงยังคง​ครองตำแหน่ง ประเพณีที่สุดแสนจะโรแมนติกในใจใครต่อใครอีกห​ลายคน....